ตัวอักษร

สวัสดีครับ! ยินดีต้อนรับสู่ Blogger ของ S'Tang ครับ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อาเซียน




asean_564าเซียน

กำเนิดอาเซียนกำเนิดอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน  หมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (IntergovernmentalOrganization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว(single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

3G

ไทยโพสต์ * กสทช.คาดเปิดประมูล 3G กลางเดือน ต.ค.นี้ พร้อมตั้งกรรมการ 4 ชุด ขึ้นมาดูแล วอนอย่าฟ้องร้อง เพราะจะกระทบกับประชาชน
นายสุทธิพล ท วีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจ การโทรทัศน์ และกิจการโทรคม นาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในขณะนี้ประกาศ กสทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โทรศัพท์ระบบ3G ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่27 สิงหาคม ที่ผ่านมา กสทช.จะเปิดประมูลโทรศัพท์ระบบ 3G วันที่ 15-20 ตุลาคมนี้ ขั้นตอนต่อไปจะแจ้งต่อศาลปกครองกลาง เพื่อพิจารณาจำหน่ายคดีเดิมที่เคยมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลคลื่น3G ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ดำเนินการภายใต้กฎหมายปี 2553 ขณะ ที่การเปิดประมูลครั้งที่ผ่านมาดำเนินการภายใต้กฎหมายปี 2543

Click here to find out more!
"ยอมรับว่ามีกระบวนการทั้งจากกลุ่มเอ็นจีโอ และภาคเอก ชนบางส่วน พยายามขัดขวางไม่ให้มีการประมูลเกิดขึ้น ซึ่งหากการประมูลล้มเหลวอีก จะเกิดความเสียหายต่อประเทศและประชาชนผู้ใช้บริการ กลุ่มต่อต้านจึงควรมาเจรจากันเพื่อให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี" นายสุทธิพล กล่าว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา กสทช. กล่าวว่า กสทช.เตรียมเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาความเหมาะสมวันประมูล 3G โดยเสนอให้เป็นวันที่ 15-16 ต.ค.55 เนื่องจากเห็นว่าเป็นวันที่มีความพร้อมมากที่สุด และเพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมประมูล 3G ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ดูแลการประมูล 4 ชุดคือ คณะเตรียมการประมูล คณะกำกับดูแล คณะตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล และ คณะตรวจสอบการเชื่อมโยงของผู้เข้าร่วมประมูล
นายฐากร กล่าวเสริมอีกว่า หลังจากประกาศหลักเกณฑ์มีผลบังคับใช้แล้ว จะประกาศบน เว็บไซต์ กสทช. นาน 30 วัน เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจ และในวันที่ 14 ก.ย. จะจัดประชุมให้ข้อมูลและ ตอบข้อซักถาม เพื่อผู้เข้าร่วมประมูลกรอกแบบคำขอเข้าประมูลให้ถูกต้อง โดยจะจัดม็อก ออคชั่น (Mock Auction) หรือ การประมูลรอบสาธิต ในวันที่ 12-13 ต.ค. นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เครือข่าย ประชาชนผู้ต้องการใช้ 3G ประ มาณ 300 คน เดินทางมายังสำนัก งาน กสทช. เพื่อขอเข้าพบกสทช. และแสดงจุดยืนสนับสนุนให้เกิดการประมูล 3G ในประเทศไทย และให้การสนับสนุน กสทช. ในการจัดประมูล 3G เพื่อให้สามารถนำคลื่น2.1  GHz ที่มีอยู่มาให้บริการประชาชนให้เป็นผลสำเร็จ
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า จำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้เข้าประมูลแต่ละรายสามารถถือครองได้ (Spectrum Cap) คือ 15 MHz และมีการแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 MHz โดยมีราคาประมูลตั้งต้นอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5  MHz ซึ่งเป็นราคาที่สูงเมื่อเทียบกับการประมูล 3G ของประเทศต่างๆ ในโลก และเป็นราคาที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการขยายบริการให้ประชาชน นำมาซึ่งการแข่งขันทางการตลาด ทั้งยังส่งผลดีต่ออัตราค่าบริการที่จะไม่สูงเกินจริง
สำหรับกรณีที่มีหลายฝ่ายมีการให้ความคิดเห็นที่รุนแรงเกี่ยวกับเรื่องราคาตั้งต้นประมูลนั้นกสทช. ได้พยายามทำความเข้าใจและอธิบายถึงที่มาของราคาดังกล่าวว่าได้มาจากการศึกษาวิจัย และใช้หลักการทางเศรษฐมิติมาประกอบ มีการศึกษามาอย่างรอบคอบ โดยนำฐานมาจากข้อมูลในอดีตทั้งหมด รวมถึงประสบการณ์จากต่างประเทศ.